Responsive image Responsive image

จักรวาลในจานข้าว

27 เมษายน 2565


 
ก่อนที่ข้าวมะลินิลสุรินทร์จะมาลงเอยอยู่ในหม้อหุงข้าวที่ครัวของเรานั้น เชื่อว่าทุกคนน่าจะพอขีดเส้นการเดินทางของข้าวสีม่วงดำทุก ๆ เมล็ดได้ ว่าจะต้องผ่านขั้นตอนการปลูก การเก็บเกี่ยว แปรรูปในโรงสี และการบรรจุลงหีบห่อ ทว่าในอุตสาหกรรมข้าวอินทรีย์ที่เต็มไปด้วยผู้คนที่ทุ่มเทแรงกาย และแรงใจในการทำงาน ศาลานาเชื่อว่า บนเส้นทางที่ดูเหมือนจะไม่ซับซ้อนนี้ ยังมีอีกหนึ่งเส้นทางขนานที่น่าสนใจไม่แพ้กัน
 
เส้นทางที่ว่า คือเส้นทางของรางวัล หรือสิ่งตอบแทนที่ทุกคนในวงจรได้รับ ในฐานะคนทำธุรกิจที่เชื่อเรื่องความยั่งยืน วันนี้ศาลานาจึงอยากชวนทุกคนมาย้อนดู ว่าการเลือกกินข้าวมะลินิลสุรินทร์ของศาลานานั้น ได้ซัพพอร์ตคุณภาพชีวิตของคนปลายทาง คนกลางทาง และคนต้นทางในมิติไหนบ้าง จุดสตาร์ทของการเดินทางที่น่าชื่นใจครั้งนี้ จึงขอเริ่มจากข้าวพูนจานตรงหน้า ส่วนปลายทางของเราจะหยุดกันตรงไหน ตามไปดูพร้อมกันดีกว่า
 

 
จากจานข้าวพูน ๆ
สู่คนกินข้าว ผู้รับประโยชน์ปลายทาง

 
ข้าวมะลินิลสุรินทร์ที่เป็นสายพันธุ์ข้าวที่ทนทาน จึงสามารถปลูกด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์ ผลผลิตที่ได้นั้นจึงปลอดภัยจากสารเคมี คนกินสามารถกินได้อย่างสบายใจ แถมยังได้รับประโยชน์จากแอนโทไซยานิน สารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติที่อยู่ในเยื่อหุ้มของข้าวสีเข้ม
 
ยิ่งไปกว่านั้น พลังของคนกินยังเป็นส่วนของในการสร้างแรงกระเพื่อมให้กับอุตสาหกรรมข้าวและ
เปลี่ยนแปลงวิถีของเกษตรกรรมได้มากกว่าที่คิด พูดง่าย ๆ คือ ยิ่งเรากินข้าวสายพันธุ์ทางเลือกมากขึ้นเท่าไร ฝั่งผู้ผลิตก็จะยิ่งเห็นความสำคัญของการปลูกข้าวพันธุ์ทางเลือกมากขึ้นเท่านั้น ข้าวในบ้านเราก็จะมีสายพันธุ์และรสชาติให้เราเลือกกินหลากหลายมากขึ้นตามไปด้วย
 

 
จากจานข้าวพูน ๆ
สู่คนแปรรูปข้าว ผู้ขับเคลื่อนนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มมูลค่า

 
แน่นอนว่าสิ่งจับต้องได้อย่างผลกำไร คือสิ่งที่ทำให้คนแปรรูปข้าว หรือคนกลางอย่างศาลานาพาธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ ทว่าเป้าหมายของการทำงานของเราไม่ใช่การรับซื้อมาแล้วขายไปเท่านั้น แต่เป็นการขับเคลื่อนแนวคิดธุรกิจเกษตรวิถีธรรมชาติให้เข้าใกล้กับความยั่งยืนให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นความยั่งยืนในแง่รายได้ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต รวมทั้งความยั่งยืนของอุตสาหกรรมข้าวอินทรีย์
 
กำไรส่วนหนึ่งจากการขายข้าวมะลินิลสุรินทร์ รวมทั้งโปรดักต์อื่น ๆ ภายใต้แบรนด์ศาลานา คือเงินทุนก้อนสำคัญ ที่เรานำมาใช้ต่อยอดงานวิจัย แสวงหาความรู้ และลงทุนกับนวัตกรรมการแปรรูปข้าวใหม่ ๆ อย่างเทคโนโลยีการสกัดสารแอนโทไซยานินจากข้าวมะลินิลสุรินทร์ในเครื่องดื่มข้าว Antho-PLUS+ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง ที่ศาลานารู้สึกภูมิใจที่ได้ช่วยหาโอกาสสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตของคนต้นทาง เราเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะสามารถตอบโจทย์ภาพของความยั่งยืนที่เราอยากมองเห็นในวันข้างหน้าได้แน่ ๆ
 

 
จากจานข้าวพูน ๆ
สู่คนปลูกข้าว ผู้เชื่อในวิถีเกษตรอินทรีย์

 
เมื่อข้าวมะลินิลสุรินทร์มีช่องทางการแปรรูปและจัดจำหน่ายที่แข็งแรงดีแล้ว สิ่งที่จะตามมาคือ คนปลูกข้าวจะยิ่งมั่นใจกับการปลูกข้าวมะลินิลสุรินทร์บนวิถีของเกษตรอินทรีย์มากขึ้น ถึงแม้ว่าในขั้นตอนการดูแลอาจจะพึ่งพาอาศัยความใส่ใจที่มากเป็นพิเศษ แต่หากคนต้นทางเห็นว่า ผลผลิตของตัวเองมีคนรอซื้อ หรือพร้อมจ่ายในราคาที่สูงอยู่ การมองเห็นคุณค่าในสิ่งที่ตัวเองทำก็จะยิ่งเพิ่มพูนขึ้นด้วย
 
ไม่เพียงแต่พวกเขาจะมีรายได้ที่มั่นคงมากขึ้นจากการขายข้าวอินทรีย์ การทำงานที่ไม่ต้องเสี่ยงกับโรคร้าย หรือผลข้างเคียงจากการใช้สารเคมี หรือการลดภาระการแบกรับต้นทุนในการซื้อปุ๋ยเคมี หรือสารกำจัดศัตรูพืช ทั้งหมดนี้คือผลพลอยได้ที่มหัศจรรย์
 

 
จากจานข้าวพูน ๆ
สู่ธรรมชาติ ที่โอบล้อมและสร้างชีวิต

 
หากจำนวนผืนนาอินทรีย์ขยับขยายจาก 1 แห่ง เป็น 5 หรือ 10 แห่ง แน่นอนว่าสิ่งที่เหล่าคนต้นทางจะได้กลับมา คือสภาพแวดล้อมที่กลับไปสมบูรณ์เหมือนในอดีต การทำเกษตรอินทรีย์คือการอนุรักษ์ผืนดิน ทำให้ห่วงโซ่อาหารที่เคยถูกทำลายด้วยสารเคมีกลับฟื้นคืนมา สิ่งมีชีวิตอย่างกุ้ง หอย ปู ปลาในผืนนา สามารถมีชีวิตและเติบโตไปเป็นอาหารของคน หรือสร้างรายได้เพิ่มให้เจ้าของผืนนาอีกหนึ่งทอด
 
ที่สำคัญคือ ภาพผืนนาที่อุดมไปด้วยสิ่งมีชีวิต จะไม่ได้เป็นเพียงเรื่องเล่าปากต่อปาก หรือมีให้เห็นแค่ในหนังสือเรียนอีกต่อไป

สั่งข้าวมะลินิลสุรินทร์อินทรีย์ได้ที่ www.salanashop.com
#ศาลานา #salana #ข้าวมะลินิลอินทรีย์



เรื่องที่น่าสนใจ

ข้าวที่เรากินอยู่ทุกวันคือพืชที่มีชีวิต แม้แต่หลังเก็บเกี่ยวแล้ว เมล็ดข้าวก็ยังเปลี่ยนแปลงตามเวลา นั่นทำให้เส้นทางของข้าวตั้งแต่นาสู่จานมีจังหวะเวลาเฉพาะตัวที่สัมพันธ์กับฤดูกาล

คด ‘ข้าวเหลือก้นหม้อ’ มาทำ Rice Cracker กรุบกรอบ กินคู่ซัลซ่าทำเองสุดเฮลท์ตี้

รศ. ดร. ประภาส ปิ่นตบแต่ง นักวิชาการรัฐศาสตร์ผู้ชี้ (และทำ) ให้เห็นว่าทางรอดของชาวนาไทยคือการปลูกข้าวอินทรีย์ที่ปรึกษาโครงการศาลานา นักวิชาการรัฐศาสตร์ และชาวนาผู้ขับเคลื่อนคุณค่าของข้าวอินทรีย์

เราได้ยินคำว่าสังคมผู้สูงอายุกันมาหลายปี พอจะรู้อยู่บ้าง ว่าบ้านเราเริ่มมีประชากรสูงวัยมากขึ้นกว่าเก่า แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทันได้ตั้งตัว

ชวนสงสัยว่าเรื่องข้าวมีอะไรมากกว่าที่เราเคยเคี้ยว