Responsive image Responsive image

จากเคียวเกี่ยวข้าว สู่ร้านศาลานา

17 มกราคม 2565

จากเคียวเกี่ยวข้าว สู่ร้านศาลานา
 
กว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวศาลานาที่เราและพี่ ๆ ชาวนาภูมิใจ เส้นทางนี้มีขั้นตอนการแปรรูปที่ต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจ และเครื่องมือเครื่องไม้ทั้งแบบเก่า แบบใหม่ อยู่มากมาย
 
ในวันที่สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเดินไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว เราอยากชวนคุณใช้เวลาสั้น ๆ เดินย้อนไปยังจุดเริ่มต้นของกระบวนการเก็บข้าว สำรวจดูว่าการเดินทางของเมล็ดข้าวอินทรีย์ จากผืนนาอินทรีย์สู่ผลิตภัณฑ์ข้าวทั้ง “ข้าวอินทรีย์ 5 สายพันธุ์” และเครื่องดื่มข้าว “Antho-PLUS+” ที่วางอยู่ในร้านของศาลานา มีความพิถีพิถัน และต้องผ่านเครื่องไม้เครื่องมือหน้าตาแบบไหนบ้าง
 


ขั้นตอนที่ 1
ออกโรงเก็บผลผลิตจากต้นข้าวด้วย “เคียว”

เมื่อรวงข้าวในนาเปลี่ยนผืนนาเป็นสีเหลืองทอง ชาวนามักใช้ “เคียว” อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยมีดเหล็กโค้งงอและด้ามจับ ช่วยกันเกี่ยวเก็บรวงข้าวด้วยสองมืออย่างขันแข็ง เหตุผลที่ไทยเรานิยามอาชีพชาวนาว่าเป็น “กระดูกสันหลังของชาติ” มานับตั้งแต่อดีต เป็นเพราะว่าลักษณะการใช้งานเคียวเกี่ยวข้าว ชาวนาจะต้องก้มตัวลง เพื่อใช้เคียวเกี่ยวไปที่ฐานของต้นข้าวนั่นเอง
 
แม้ว่าวันนี้เรามีเครื่องจักรทุ่นแรงอย่างรถเกี่ยวนวดข้าว ที่ช่วยประหยัดเวลาและช่วยให้ชาวนาปวดหลังจากการก้มตัวน้อยลงให้เลือกใช้ เคียวเกี่ยวข้าวก็ยังถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่ชาวนาทุก ๆ คนจะต้องมีติดตัว อย่างน้อยก็ใช้งานในพื้นที่ที่รถเกี่ยวข้าวเข้าไม่ถึง หรือหลาย ๆ พื้นที่นาในภาคเหนือที่มีลักษณะเป็นนาขั้นบันได ไม่เอื้อต่อการใช้รถเกี่ยวข้าว การใช้แรงคนในการเกี่ยวข้าวจึงยังมีให้เราได้เห็นกันอยู่
 


ขั้นตอนที่ 2
ใช้ “คันหลาว” ขนย้ายรวงข้าวจากนาไปยังลานนวดข้าว

หลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว ภาพที่เราจะเห็นกัน คือชาวนาจะช่วยกันรวบและมัดรวงข้าวให้เป็นฟ่อน ๆ เตรียมพร้อมสำหรับการขนย้าย สำหรับนาที่ยังใช้แรงคนเป็นหลัก พวกเขาจะแบกฟ่อนข้าวขึ้นบ่าด้วยการใช้ “คันหลาว” หรือลำไม้ไผ่เสี้ยมปลายทั้งสองข้าง ขนข้าวไปลานนวดข้าว หรือลานที่ชาวนาหลาย ๆ คนจะช่วยกันลงแขกใช้แรงจากสองมือ “ฟาดข้าว” เพื่อกระเทาะเมล็ดข้าวเปลือกออกจากรวงข้าวที่อยู่ไม่ไกล
 


ขั้นตอนที่ 3
หยิบข้าวเปลือก 5 สายพันธุ์ใส่ “เครื่องสีข้าว” เพื่อขัดสี

โดยปกติแล้ว ชาวนาอินทรีย์มักนำข้าวเปลือกไปสีที่โรงสีข้าวที่รับสีเฉพาะข้าวอินทรีย์โดยเฉพาะ เนื่องจากจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงสารเคมีและสารกันมอดที่อาจปะปนมากับข้าวจากนาเคมีอื่น ๆ และสำหรับการผลิตข้าวอินทรีย์ 5 สายพันธุ์ ของศาลานา เราให้ชาวนาส่งข้าวเปลือกมายังโรงสีข้าวอินทรีย์ของเราโดยตรง ซึ่งวิธีการขัดสีของเราพิเศษกว่าโรงสีอื่น ๆ ตรงที่เรานำข้าวเปลือกทั้ง 5 สายพันธุ์มาผสม และเข้าสู่กระบวนการขัดสีพร้อมกันทีเดียว เพื่อให้ข้าวทุกเมล็ดหุงแล้วอวบสวยและนุ่มเท่ากัน
 

ขั้นตอนที่ 4
คิดค้น “กระบวนการสกัดสารแอนโทไซยานิน” ทำเครื่องดื่มข้าว Antho-PLUS+

ด้วยความตั้งใจที่อยากให้ผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ของศาลานาเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวที่ปลอดภัยและดีที่สุดสำหรับคนกิน การต่อยอดข้าวมะลินิลสุรินทร์อินทรีย์มาเป็นเครื่องดื่มข้าวที่อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอย่างสารแอนโทไซยานิน จะต้องไม่หยุดอยู่ที่การทำให้ข้าวกลายเป็นผงเนื้อละเอียดพร้อมชงเท่านั้น
 
ทีมหลังบ้านของศาลานาร่วมกับนักวิจัย ได้ช่วยกันคิดค้น “กระบวนการสกัดสารแอนโทไซยานิน” ดึงของดีจากผิวข้าวมะลินิลสุรินทร์กลายเป็นผงสีม่วงเข้ม พลัสประโยชน์ให้กับเครื่องดื่มข้าวในความทรงจำ
 
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์ข้าวที่ศาลานาและพี่ ๆ ชาวนาอินทรีย์ภูมิใจไปกินที่บ้านได้ที่ www.salanashop.com



เรื่องที่น่าสนใจ

เพราะชีวิตมีเรื่องยาก ๆ เยอะแล้ว มาทำเรื่องหุงข้าวให้เป็นเรื่องง่าย ๆ กันดีกว่า

ในกาลก่อน “นาข้าว” เป็นเสมือนขุมทรัพย์ที่ทำให้เราสามารถมีกิน มีใช้ ได้อย่างไม่รู้หมด ทว่าในยุคหลังไม่กี่สิบปีมานี้ การทำนาแบบดั้งเดิมเพื่อกิน เพื่อใช้ เริ่มหายไป ชาวบ้านต่างทำนาเพื่อให้ได้ผลผลิตมาก ๆ

ข้าวศาลานา มาจากนาที่ไหน?

ขนมอุ่น ๆ ที่ได้ชิมข้าวไทยในรสและรูปลักษณ์ที่แตกต่าง

ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2543 ประชาคมโลก เริ่มให้ความสนใจเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยทางอาหารเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการสร้างความยั่งยืนทางด้านอาหาร การทำการเกษตร